การลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ (S&D E-Learning) Thai DriSti Intervention

"การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม Thai DriSti intervention ในนักศึกษาแพทย์และนักศึกษาพยาบาล เพื่อลดการตีตราทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี (Evaluation of the Thai Drive against Stigma Intervention (Thai DriSti Intervention) among Medical and Nursing Students in Thailand)"

Shape Shape

รายละเอียด บทเรียน

Shape
Shape
Shape Shape
Courses Details ชุดการเรียนรู้ที่ 1

ชุดการเรียนรู้ที่ 1

(ผู้อ่าน 0 ครั้ง)

รายละเอียด:

ชุดการเรียนรู้ที่ 1
ความหมายของ “การตีตราทางสังคม”

บรรยาย (1) : นำเข้าสู่บทเรียน
“กล่าวทักทาย และนำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้เรียนดู วิดีโอสถานการณ์จำลองการตีตราที่เกิดขึ้นในบ้านและชุมชน ให้สังเกตสถานการณ์ในวิดีโอ ว่าเกิดอะไรขึ้น สิ่งนี้คือการตีตรา”

วิดีโอ (1) : สถานการณ์จำลองการตีตราที่เกิดขึ้นในบ้านและชุมชน

บรรยาย (2) : นิยามและขอบเขตของการตีตราและการเลือกปฏิบัติ

ถามคำถามชวนคิด:
เกิดอะไรขึ้นบ้างในสถานการณ์นี้?
ในความคิดของผู้เรียนการตีตราคืออะไร ?
หลังจากนั้นจะมีชี้ให้เห็นความหมายและความแตกต่างของ “การตีตรา vs การเลือกปฏิบัติ”
เนื้อหา:
การตีตรา (stigma) คือ ประสบการณ์หรือกระบวนการทางสังคมที่มีการแบ่งแยกปฏิเสธ กล่าวโทษ หรือลดคุณค่าของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาใดปัญหาหนึ่งอันเป็นผลจากประสบการณ์หรือการคาดเดาท่าทีเชิงลบของสังคมต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีปัญหานั้น ๆ การปฏิบัติที่เป็นผลมาจากการตีตรานี้เรียกว่าการเลือกปฏิบัติ (discrimination) หรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม การกระทำนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบของการแบ่งแยกหรือการปฏิเสธ ยกตัวอย่างเช่น ปฏิเสธที่จะนั่งข้างผู้ที่คาดว่าจะติดเชื้อเอชไอวี การนินทา การดูถูก และการเรียกพวกเขาว่า “ตราบาป”

หลังจากนั้นผู้บรรยายจะนำผู้เรียนเข้าสู่การทำแบบทดสอบ

แบบทดสอบ (1) : กลุ่มคนที่ถูกตีตราและเลือกปฏิบัติ
ให้เลือกข้อความกลุ่มคนที่ผู้เรียนคิดว่ามักจะถูกตีตราและเลือกปฏิบัติ จากข้อความประชากรกลุ่มต่าง ๆ ที่แสดงบนหน้าจอ โดยในข้อความเหล่านี้จะมีประชากรกลุ่มที่มีความเปราะบางสูง ซึ่งอาจถูกตีตราหรือถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม ดังต่อไปนี้ คละอยู่ด้วย
1. คนยากจน
2. คนไร้รัฐ ชาติพันธุ์กลุ่มน้อย
3. แรงงานข้ามชาติ
4. เด็กกำพร้า
5. คนข้ามเพศ
6. LGBT, MSM
7. ผู้ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศ
8. ผู้เคยได้รับโทษจำคุกหรือพ้นโทษแล้ว
9. ผู้ใช้ยาเสพติด
10. ผู้ป่วยจิตเวช
11. พนักงานบริการทางเพศ

เมื่อจบ Exercise 1 ผู้บรรยายจะอธิบายเนื้อหาหลักเพิ่มเติม

บรรยาย (3) : ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการตีตราที่สัมพันธ์กับเอชไอวี/เอดส์
เนื้อหา:
เมื่อเราตีตราผู้คน เราแบ่งแยก (isolate) พวกเขา บอกว่าพวกเขาเป็นเป็นอันตรายหรือคุกคามต่อพวกเรา เพราะเราคิดว่าพวกเขาอาจจะนำเชื้อเอชไอวีมาติดต่อเราหรือเราอาจได้รับผลกระทบในทางลบจากพฤติกรรมของพวกเขา หรือเราตัดสิน (judge) พวกเขาว่าพวกเขาทำลายบรรทัดฐานทางสังคมและควรที่จะถูกประณามหรือถูกตราหน้าว่ากระทำความผิด
การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสเหล่านี้อาจจะอยู่ในรูปแบบที่เห็นได้อย่างเปิดเผย เช่น ถูกไล่ออกจากบ้าน ให้ออกจากงาน หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบที่ไม่ชัดเจนมากนัก เช่น ไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
ในความเป็นจริงแล้วบางคนอาจจะเป็นสมาชิกของกลุ่มที่ถูกตีตราหลายรูปแบบ ตามลักษณะทางกายภาพ สถานะทางสุขภาพ เพศสภาวะ หรือพฤติกรรมของพวกเขา เมื่อพวกเขาได้รับเชื้อเอชไอวีเขาเหล่านี้อาจจะกลายเป็นเป้าหมายของการตีตราที่แบบหลายชั้น ยกตัวอย่างเช่น หญิงบริการทางเพศอาจมีประสบการณ์การถูกตีตราเนื่องจากการเป็นหญิงบริการทางเพศอยู่แล้วชั้นหนึ่งและถ้าหากว่าเธอติดเชื้อเอชไอวี เธอต้องเผชิญกับการตีตราที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มเข้ามาจากการที่เป็นพนักงานบริการทางเพศที่มีอยู่เดิม สิ่งนี้เรียกว่าการตีตราทับซ้อน (Layered Stigma)
บางครั้งการตีตราจากสังคมเหล่านี้สามารถทำให้บุคคลเกิดการตีตราตนเอง (internalized stigma) ซึ่งเป็นการที่บุคคลที่ถูกตีตรารับรู้ได้ถึงทัศนคติเชิงลบจากสังคม จนยอมรับความเชื่อในแง่ลบ มุมมอง และความรู้สึกที่ผู้อื่นมีต่อกลุ่มของตนและต่อตนเอง ซึ่งอาจนำไปสู่การตำหนิตนเอง รู้สึกละอายใจ หรือ กลัวการได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากคนอื่น ๆ (Anticipated Stigma) หวาดกลัวปฏิกิริยาจากสังคม จนอาจหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน
เราทุกคน ณ จุดใดจุดหนึ่งของชีวิตของเรา อาจจะต้องเผชิญกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของการตีตรา โดยอาจจะเป็นเพราะความแตกต่างของเพศ รูปร่างหน้าตา เช่น สีผิว ความสูง เป็นต้น ความพิการที่มีอยู่ หรือภูมิลำเนา ชนชั้นทางสังคม ศาสนา หรืออาจเป็นเพียงเพราะการเป็นรุ่นน้องในที่ทำงาน

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการตีตราที่สัมพันธ์กับเอชไอวี/เอดส์
1. ขาดความตระหนัก ไม่ทราบว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นการตีตรา
2. ความกลัวการติดเชื้อ ซึ่งนำไปสู่การปกป้องตนเองจนเกินความจำเป็นในการปฏิบัติงานการให้บริการ เช่น การใช้ถุงมือสองชั้น เป็นต้น
3. ทัศนคติเชิงลบต่อการติดเชื้อเอชไอวีและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ
4. นโยบายและสิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น นโยบายการจัดลำดับการให้บริการไว้ลำดับสุดท้าย การทำสัญลักษณ์ระบุสถานะการติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น

แบบทดสอบ (4) : การตีตราและเลือกปฏิบัติ
จะเป็นการให้ผู้เรียนสัมผัสข้อความที่ตรงกับความคิดเห็นของผู้เรียน (เห็นด้วยอย่างยิ่ง/เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง) ต่อข้อความที่ปรากฏบนหน้าจอ ดังนี้
1. การติดเชื้อเอชไอวีเกิดจากการขาดความรับผิดชอบและมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรมีความรู้สึกละอาย (PLHIV)
2. ผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวีควรได้รับการรักษาในสถานที่ที่แยกจากผู้รับบริการรายอื่น ๆ (PLHIV)
3. หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ควรมีลูกให้เป็นภาระ ควรได้รับการทำหมันแม้ว่าจะต้องการหรือไม่ก็ตาม (Mother to Child)
4. แรงงานข้ามชาติเป็นตัวแพร่เชื้อเอชไอวี (Migrant Worker)
5. ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้สารเสพติดที่ยังเลิกยาไม่ได้ยังไม่ควรได้รับการรักษาเอชไอวี (HIV and Drug User)
6. การจัดหาเข็มและหลอดฉีดยาที่ปลอดเชื้อให้กับผู้ที่ใช้สารเสพติดจะส่งผลให้มีการใช้ยาเสพติดและจำนวนผู้ติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น (Drugs User)
7. พนักงานบริการทางเพศสมควรที่จะได้รับเชื้อเอชไอวีเนื่องจากพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรมของพวกเขา (Sex Worker)
8. ผู้ชายไม่ควรได้รับอนุญาตให้มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายคนอื่นเพราะมันเป็นสิ่งผิดธรรมชาติ (MSM)
9. บุคคลข้ามเพศควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นโรคและควรได้รับการรักษา (Transgender)
10. พนักงานบริการทางเพศเป็นตัวแพร่เชื้อเอชไอวี (Sex Worker)

บรรยาย (4) : สรุปแบบทดสอบที่ 4
เนื้อหา:
ข้อความข้างต้นนั้นเป็นความคิดแบบเหมารวม (stereotype) เช่น "ผู้หญิงทุกคนต้องการที่จะเป็นแม่" ซึ่งอาจไม่เป็นความจริงเสมอไป เนื่องจากยังมีผู้หญิงอีกจำนวนหนึ่งที่อาจไม่ได้มีความต้องการที่จะมีลูก ความคิดแบบเหมารวมนี้หลายครั้งนำไปสู่การตีตราบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี เช่น “พนังงานพนักงานบริการทางเพศทุกคนไร้ศีลธรรม” และ “ผู้ใช้ยาเสพติดน่ารังเกียจ” ได้ บ่อยครั้งที่เราเชื่อว่าความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคลคนอื่น ซึ่งจริง ๆ แล้วสิ่งนี้มักจะเป็นการสรุปแบบง่าย ๆ เกินความเป็นจริง และเป็นเท็จ ความเชื่อเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความการตีตราและการเลือกปฏิบัติได้
แล้วความคิดแบบเหมารวมเหล่านี้มาจากไหน เราเข้าสังคมเพื่อตัดสินคนอื่นตามสมมติฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของพวกเขา โดยผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย บุคคลข้ามเพศ พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้ยาเสพติด ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่ละเมิดบรรทัดฐานทางสังคม ดังนั้นบางคนจึงคิดว่าพวกเขาสมควรแล้วที่จะถูกประณามและถูกลงโทษ แล้วเราก็ส่งต่อทัศนคติเหล่านั้นให้แก่ลูกหลานของเราต่อไป

ใบรับรอง/Certification:

รีวิว :

Author

Sara Alexander

Product Designer, USA

Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text since the 1500 when unknown printer took a galley of type and scrambled to make type specimen book has survived not five centuries but also the leap into electronic type and book.

Author

Karol Bachman

Product Designer, USA

Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text since the 1500 when unknown printer took a galley of type and scrambled to make type specimen book has survived not five centuries but also the leap into electronic type and book.

Author

Gertude Culbertson

Product Designer, USA

Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text since the 1500 when unknown printer took a galley of type and scrambled to make type specimen book has survived not five centuries but also the leap into electronic type and book.