การลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ (S&D E-Learning) Thai DriSti Intervention

"การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม Thai DriSti intervention ในนักศึกษาแพทย์และนักศึกษาพยาบาล เพื่อลดการตีตราทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี (Evaluation of the Thai Drive against Stigma Intervention (Thai DriSti Intervention) among Medical and Nursing Students in Thailand)"

Shape Shape

รายละเอียด บทเรียน

Shape
Shape
Shape Shape
Courses Details ชุดการเรียนรู้ที่ 2

ชุดการเรียนรู้ที่ 2

(ผู้อ่าน 0 ครั้ง)

รายละเอียด:

ชุดการเรียนรู้ที่ 2
การตีตราทางสังคมต่อผู้ใช้บริการที่เกิดขึ้นในสถานบริการสุขภาพ

วิดีโอบรรยาย (เสริม 1): นำเข้าสู่บทเรียนชุดที่ 2
เนื้อหา: ชุดการเรียนรู้นี้จะ ให้ผู้เรียนได้เลือกดูวิดีโอจำลองสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาล จำนวนทั้งสิ้น 11 ตอน คลอบคลุมทั้งบริเวณหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกและหอผู้ป่วยใน ซึ่งแต่ละวิดีโอจะมี Key driver ที่ต่างกัน คือ
1. ขาดความตระหนัก ไม่ทราบว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นการตีตรา
2. ความกลัวการติดเชื้อ ซึ่งนำไปสู่การปกป้องตนเองจนเกินความจำเป็นในการปฏิบัติงานการให้บริการ เช่น การใช้ถุงมือสองชั้น เป็นต้น
3. ทัศนคติเชิงลบต่อการติดเชื้อเอชไอวีและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ
เพื่อให้ผู้เรียนได้ดูครบทุก Key driver จึงได้รวมกลุ่มวิดีโอที่แสดง Key Driver ซ้ำกันไว้ให้ผู้เรียนได้เลือกดู รวมวิดีโอที่ผู้เรียนต้องดูทั้งหมด คือ 6 ตอน หลังผู้เรียนดูแต่ละวิดีโอจบ จะมีคำถามให้ผู้เรียนได้เลือกตอบ 2 คำถาม คือ ผู้เรียนเห็นการตีตรารูปแบบไหนในวิดีโอ และปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดการตีตราและการเลือกปฏิบัติขึ้นในสถานการณ์นั้นๆ
จุดมุ่งหมายของแบบทดสอบต่อไปนี้คือการช่วยให้คุณรับรู้ถึงทัศนคติการตีตรา (stigmatizing attitudes) และพฤติกรรมอันเป็นการเลือกปฏิบัติ (discriminatory practices) ที่เกิดในหน่วยให้บริการทางสุขภาพ

ตารางแสดง Key Driver ที่ปรากฏในแต่ละวิดีโอ

6rNbeW.jpg

เพื่อให้ผู้เรียนได้ดูครบทุก Key driver จึงรวมกลุ่มวิดีโอที่แสดง Key Driver ซ้ำกันให้ผู้เรียนได้เลือกดู ดังต่อไปนี้
วิดีโอที่ 2, 3, 4 - เลือกดู 1 วิดีโอ
วิดีโอที่ 6, 12 - เลือกดู 1 วิดีโอ
วิดีโอที่ 7, 8, 11 - เลือกดู 1 วิดีโอ
วิดีโอที่ 5, 9, 10 - จำเป็นต้องดูทุกวิดีโอ

รวมวิดีโอที่ผู้เรียนต้องดูทั้งหมด คือ 6 วิดีโอ โดยแต่ละวิดีโอจะแสดงถึงการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาล พร้อมทั้งมีแนวทางแก้ไขการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในวิดีโอ ส่วนวิดีโอตอนที่ 4,5,8,12 จะมีวิดีโอแนวทางแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญให้ดูเพิ่มเติม
หอผู้ป่วยใน จำนวน 2 วิดีโอ
1. (วิดีโอ 2) หอผู้ป่วยใน (Inpatient Ward)
2. (วิดีโอ 3) หอผู้ป่วยหลังคลอด (Maternity Ward)

หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก จำนวน 10 วิดีโอ
1. (วิดีโอ 4) คลินิกโรคติดเชื้อ (Infectious Disease Department)
2. (วิดีโอ 5) คลินิกเยาวชน (Youth Clinic)
3. (วิดีโอ 6) แผนกผู้ป่วยนอก (OPD Waiting Area)
4. (วิดีโอ 7) ห้องฉุกเฉิน (Emergency Room)
5. (วิดีโอ 8) ห้องผ่าตัด (Operating Room)
6. (วิดีโอ 9) แผนกไตเทียม (Hemodialysis Unit)
7. (วิดีโอ 10) คลินิกแม่และเด็ก (Antenatal Clinic)
8. (วิดีโอ 11) แผนกทันตกรรม (Dental Clinic)
9. (วิดีโอ 12) ห้องจ่ายยา (Pharmacy)

รายละเอียดแต่ละวิดีโอ:
วิดีโอ (2): หอผู้ป่วยใน (Inpatient Ward)
วิดีโอ (2): หอผู้ป่วยใน (Inpatient Ward)วิดีโอ (3): หอผู้ป่วยหลังคลอด (Maternity Ward)
วิดีโอ (4): คลินิกโรคติดเชื้อ (Infectious Disease Department)
วิดีโอแยก (1) เพื่อแก้สถานการณ์ที่ถูกต้องให้ผู้เรียนทราบของวิดีโอ (4): คลินิกโรคติดเชื้อ (Infectious Disease Department)
ผู้บรรยาย: จากสถานการณ์นี้ หมอควรจะร่วมกันวางแผนการรักษากับผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วยปรับตารางการรับประทานยาต้านไวรัสให้เหมาะสม ไม่ใช่ตำหนิผู้ป่วยอย่างเดียว ควรรับรู้และเข้าใจปัญหาในการรับประทานยาของผู้ป่วย และนำมาวางแผนการรักษาร่วมกัน เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด
วิดีโอ (5): คลินิกทั่วไป (General Clinic)
วิดีโอแยก (2) เพื่อแก้สถานการณ์ที่ถูกต้องให้ผู้เรียนทราบของวิดีโอ (5): คลินิกทั่วไป (General Clinic)
ผู้บรรยาย: จากสถานการณ์นี้ หมอและพยาบาลไม่ควรตัดสินบุคคลจากภายนอกและไม่ควรมีอคติต่อกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้สูง เพราะจะทำให้เกิดการตีตราซ้ำซ้อน และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็ไม่ใช่ว่าจะติดเชื้อเอชไอวีกันทุกคน ในสถานการณ์นี้หมอไม่ควรจัดการหรือตัดสินผู้ป่วยไปเอง เพราะผู้ป่วยมาปรึกษาเรื่องนอนไม่หลับ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจก้นของผู้ป่วย
วิดีโอ (6): แผนกผู้ป่วยนอก (OPD Waiting Area)
วิดีโอ (7): ห้องฉุกเฉิน (Emergency Room)
วิดีโอ (8): ห้องผ่าตัด (Operating Room)
วิดีโอแยก (3) เพื่อแก้สถานการณ์ที่ถูกต้องให้ผู้เรียนทราบของวิดีโอ (8): ห้องผ่าตัด (Operating Room)
ผู้บรรยาย: จากสถานการณ์นี้ การที่จัดผู้ป่วยเอชไอวีไว้คิวสุดท้าย เหตุผลมาจากต้องทำความสะอาดห้องผ่าตัดและคลุมเครื่องมือต่างๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่จริงๆแล้ว เราไม่จำเป็นต้องจัดผู้ติดเชื้อเอชไอวีไว้คิดสุดท้าย เพราะยังไงเราก็ใช้ Standard precaution ในการผ่าตัดผู้ป่วยทุกคนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นเราไม่ควรเลือกปฏิบัติกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี
วิดีโอ (9): แผนกไตเทียม (Hemodialysis Unit)
วิดีโอ (10): คลินิกแม่และเด็ก (Antenatal Clinic)
วิดีโอ (11): แผนกทันตกรรม (Dental Clinic)
วิดีโอ (12): ห้องจ่ายยา (Pharmacy)
วิดีโอแยก (4) เพื่อแก้สถานการณ์ที่ถูกต้องให้ผู้เรียนทราบของวิดีโอ (12): ห้องจ่ายยา (Pharmacy)
ผู้บรรยาย: จากสถานการณ์นี้ ในฐานะเภสัชกร หรือในบางทีอาจจะเป็นหมอหรือพยาบาล เวลาจ่ายยาต้านไวรัสให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ควรใส่ใจในการอธิบายการรับประทานยาต้านไวรัส และเน้นย้ำเรื่อง Drug adherence ต่อผู้ป่วย ว่ามีความสำคัญที่จะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุดและป้องกันการดื้อยา ซึ่งล้วนเป็นผลดีกับตัวผู้ป่วยเอง อีกทั้งยังควรให้เวลาผู้ติดเชื้อในการซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับประทานยา เพื่อเพิ่มความเข้าใจที่ถูกต้องในการรับประทานยาต้านไวรัส

หลังดูวิดีโอแต่ละอัน จะมีข้อความและแบบทดสอบถามผู้เรียน ดังต่อไปนี้
1. รู้สึกอย่างไรถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นกับตนเอง (ให้เวลาคิด)
2. แบบทดสอบ (2): รูปแบบการตีตรา
ผู้เรียนเห็นการตีตรารูปแบบไหน : ให้เลือกจากตัวเลือกที่ให้ไว้ ดังนี้
a. การแบ่งแยก และ การปฏิเสธ
b. การตำหนิ การทำให้อับอาย
c. การตีตราทับซ้อน
d. การเลือกปฏิบัติ
e. การตีตราตนเอง
3. แบบทดสอบ (3): ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ
ระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ : ให้เลือกจากตัวเลือกที่ให้ไว้ ดังนี้
a. ความกลัวว่าจะติดเชื้อ
b. ความไม่ตระหนัก
c. ทัศนคติตัดสินเชิงลบ
d. นโยบายการให้บริการ/ระบบการให้บริการ

บรรยาย (7): สรุปเนื้อหาชุดการเรียนรู้ที่ 2
เนื้อหา: เมื่อเราตีตรา สิ่งนี้จะทำให้ผู้คนที่ถูกกระทำรู้สึกแย่ โดดเดี่ยว ละอายใจ และถูกปฏิเสธ พวกเขารู้สึก ไม่เป็นที่ต้องการและสูญเสียความมั่นใจ
การตีตราและความกลัวว่าจะถูกตีตราที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาลอาจส่งผลให้ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีหรือเป็นสมาชิกของประชาชนกลุ่มเปราะบางอื่นๆ เข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี เข้าถึงบริการสุขภาพ และเข้าถึงบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ล่าช้าหรืออาจหลีกเลี่ยงการใช้บริการเหล่านี้ พวกเขาอาจกลัวที่ จะต้องบอกคู่ของพวกเขาเกี่ยวกับการติดเชื้อของตนเอง ดังนั้นการตีตราจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการระบาดของเชื้อเอชไอวี
เราสามารถที่จะสร้างความแตกต่างอย่างใหญ่หลวงในชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพียงแค่ปฏิบัติต่อ พวกเขาด้วยความเคารพ ไม่ตัดสินคุณธรรมของพวกเขา และปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างมืออาชีพ รักษาผู้ป่วย ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงว่าพวกเขาจะเป็นใคร มาจากไหน หรือเป็นโรคอะไร

ใบรับรอง/Certification:

รีวิว :

Author

Sara Alexander

Product Designer, USA

Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text since the 1500 when unknown printer took a galley of type and scrambled to make type specimen book has survived not five centuries but also the leap into electronic type and book.

Author

Karol Bachman

Product Designer, USA

Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text since the 1500 when unknown printer took a galley of type and scrambled to make type specimen book has survived not five centuries but also the leap into electronic type and book.

Author

Gertude Culbertson

Product Designer, USA

Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text since the 1500 when unknown printer took a galley of type and scrambled to make type specimen book has survived not five centuries but also the leap into electronic type and book.