การลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ (S&D E-Learning) Thai DriSti Intervention
"การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม Thai DriSti intervention ในนักศึกษาแพทย์และนักศึกษาพยาบาล เพื่อลดการตีตราทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี (Evaluation of the Thai Drive against Stigma Intervention (Thai DriSti Intervention) among Medical and Nursing Students in Thailand)"
นโยบายของเรา
ชื่อบทเรียน
โปรแกรมบทเรียนออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ (S&D E-Learning)
รายละเอียดโครงการ
ประเทศไทยตั้งเป้าหมายยุติปัญหาเอดส์ในปี พ.ศ. 2573 โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการคือ 1) ลดการติดเชื้อรายใหม่ 2) ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และ 3) ลดการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเอชไอวีและเพศสภาวะลงจากเดิมร้อยละ 90 และหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการยุติปัญหาเอดส์คือปรับภาพลักษณ์ ความเข้าใจ เสริมสร้างความเข้มแข็งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน รวมทั้งกลไกการคุ้มครองสิทธิเพื่อลดการรังเกียจ กีดกัน การเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวกับเอชไอวี และเพศสภาวะ โดยอยู่บนหลักการพื้นฐานการเคารพ ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคทางเพศ
การตีตราและการเลือกปฏิบัติถือเป็นปัจจัยรากฐานที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการทั้งการป้องกันและการดูแลรักษาเอดส์ของผู้มีเชื้อเอชไอวีและกลุ่มประชากรหลัก ดังนั้น เพื่อยุติปัญหาเอดส์ให้ได้ในปี 2573 จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลดปัญหาการตีตราและเลือกปฏิบัติให้ได้ กองเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคสังคมได้พัฒนาหลักสูตรการส่งเสริมสถานบริการสุขภาพที่ปราศจากการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้มีเชื้อเอชไอวีและกลุ่มประชากรหลัก การดำเนินงานที่สำคัญประกอบ ด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) การพัฒนาเครื่องมือและระบบการติดตามสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติในระบบบริการสุขภาพ 2) การพัฒนาชุดการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมสถานบริการสุขภาพที่ปราศจากการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยการอบรมบุคลากรทางการสาธารณสุข การฟังเสียงสะท้อนผู้รับบริการ และนำรูปแบบการตีตราและเลือกปฏิบัติเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสถานบริการสุขภาพได้อย่างมีมาตรฐาน
เพื่อให้การสร้างความเข้าใจเรื่องการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติฯ ของประเทศไทยครอบคลุมเป้าหมายมากขึ้นดังนั้น โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงเห็นความสำคัญของการให้นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุข ได้เรียนรู้เรื่องการตีตราและเลือกปฏิบัติก่อนจบไปปฏิบัติหน้าที่เมื่อจบการศึกษาและการทำงานในโรงพยาบาล จะทำให้บุคลากรมีจิตสำนึกและมีทัศนคติที่ดีต่อผู้มีเชื้อและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการตีตราและการเลือกปฏิบัติในผู้ติดเชื้อและครอบครัว
โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐและภาคประชาสังคม จึงได้จัดทำโครงการจัดทำโปรแกรมบทเรียนออนไลน์เรื่องการลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ (S&D E-learning) เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เรื่องการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก สำหรับนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเพศสภาวะ ส่งผลถึงการให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพและเป็นมิตรกับผู้ติดเชื้อ
รายละเอียดการเรียน
ประกอบด้วย 6 ชุดการเรียนรู้ ดังนี้
ชุดการเรียนรู้ที่ 1 - ความหมายของ “การตีตราทางสังคม”
ชุดการเรียนรู้ที่ 2 - การตีตราทางสังคมต่อผู้ใช้บริการที่เกิดขึ้นในสถานบริการสุขภาพ
ชุดการเรียนรู้ที่ 3 - ผลกระทบของการตีตราทางสังคมต่อการระบาดของเชื้อเอชไอวี
ชุดการเรียนรู้ที่ 4 - ช่องทางการติดต่อของเชื้อเอชไอวีและความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
ชุดการเรียนรู้ที่ 5 - ความกลัวการติดเชื้อเอชไอวีที่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรม
ชุดการเรียนรู้ที่ 6 - วิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐาน การแสดงความเคารพและคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยไปพร้อมกับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อของบุคลากร
คำชี้แจง ผู้เรียนต้องเรียนที่ละชุดการเรียนรู้ โดยเริ่มจากชุดการเรียนรู้ที่ 1 ไปถึงชุดการเรียนรู้ที่ 6 ผู้เรียนไม่สามารถข้ามไปเรียนชุดการเรียนรู้อื่นได้ หากยังเรียนชุดการเรียนรู้ก่อนหน้าไม่เสร็จ
หากผู้เรียน เรียนไม่จบทั้ง 6 ชุดการเรียนรู้ในครั้งเดียว ระบบจะทำการบันทึกที่ผู้เรียนได้เรียนไว้ และผู้เรียนสามารถกลับมาเรียนต่อเนื่องจากจุดที่ผู้เรียนได้เรียนค้างไว้ในครั้งก่อน
ชื่อแบบสอบถามก่อนเรียน (Pre-test)
แบบสอบถามพื้นฐาน เรื่อง การตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ (DRISTI BASELINE QUESTIONNAIRE)
คำชี้แจง แบบสอบถามฉบับนี้เป็นแบบสอบถามพื้นฐาน เรื่อง การตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ โดยให้ผู้เรียนเลือกตอบแบบสอบถาม และเติมข้อมูลลงในช่องว่างตามความเป็นจริง แบบสอบถามประกอบด้วยคำถามทั้งหมด 10 ชุด รวม 99 ข้อ
หมายเหตุ ผู้เรียนทุกคนต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียนให้ครบทุกข้อก่อนทำการเข้าสู่บทเรียน หากผู้เรียนทำแบบสอบถามไม่จบภายในครั้งเดียว ระบบจะทำการบันทึกแบบสอบถามที่ผู้เรียนได้ทำการตอบแล้วไว้เป็นชุดๆ และผู้เรียนสามารถกลับมาทำแบบสอบถามได้ต่อเนื่องในครั้งถัดไปจนเสร็จ
แบบสอบถาม ชุดที่1 แบบสอบถามข้อมูลประชากร มีจำนวนคำถามทั้งหมด 3 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่2 แบบสอบถามการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี / การตรวจหาเชื้อเอชไอวี จำนวนคำถามทั้งหมด 9 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่3 แบบสอบถามเรื่องพฤติกรรมทางวิชาชีพ จำนวนคำถามทั้งหมด 10 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่4 แบบสอบถามเรื่องบรรทัดฐานชุมชนวิชาชีพ จำนวนคำถามทั้งหมด 7 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่5 แบบสอบถามเรื่องนโยบายด้านการดูแลสุขภาพ จำนวนคำถามทั้งหมด 23 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่6 แบบสอบถามเรื่องการดูแลประชากรกลุ่มต่างๆ จำนวนคำถามทั้งหมด 8 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่7 แบบประเมินความรู้เรื่องการแพร่เชื้อเอชไอวี จำนวนคำถามทั้งหมด 9 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่8 แบบประเมินความรู้ความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐาน จำนวนคำถามทั้งหมด 16 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่9 แบบสอบถามเรื่องมาตรการป้องกัน จำนวนคำถามทั้งหมด 7 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่10 แบบสอบถามเรื่องความมั่นใจในการปฏิบัติ จำนวนคำถามทั้งหมด 7 ข้อ
ชื่อแบบสอบถามหลังเรียน (Post-test)
แบบสอบถามพื้นฐาน เรื่อง การตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ (DRISTI BASELINE QUESTIONNAIRE)
คำชี้แจง แบบสอบถามฉบับนี้เป็นแบบสอบถามพื้นฐาน เรื่อง การตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ โดยให้ผู้เรียนเลือกตอบแบบสอบถาม และเติมข้อมูลลงในช่องว่างตามความเป็นจริง แบบสอบถามประกอบด้วยคำถามทั้งหมด 10 ชุด รวม 99 ข้อ
หมายเหตุ ผู้เรียนทุกคนต้องทำแบบทดสอบหลังเรียน หลังจากผู้เรียนเรียนครบทั้ง 6 ชุดการเรียนรู้ และต้องทำให้ครบทุกข้อภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2564 หากผู้เรียนทำแบบสอบถามไม่จบภายในครั้งเดียว ระบบจะทำการบันทึกแบบสอบถามที่ผู้เรียนได้ทำการตอบแล้วไว้เป็นชุดๆ และผู้เรียนสามารถกลับมาทำแบบสอบถามได้ต่อเนื่องในครั้งถัดไปจนเสร็จ
แบบสอบถาม ชุดที่1 แบบสอบถามข้อมูลประชากร มีจำนวนคำถามทั้งหมด 3 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่2 แบบสอบถามการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี / การตรวจหาเชื้อเอชไอวี จำนวนคำถามทั้งหมด 9 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่3 แบบสอบถามเรื่องพฤติกรรมทางวิชาชีพ จำนวนคำถามทั้งหมด 10 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่4 แบบสอบถามเรื่องบรรทัดฐานชุมชนวิชาชีพ จำนวนคำถามทั้งหมด 7 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่5 แบบสอบถามเรื่องนโยบายด้านการดูแลสุขภาพ จำนวนคำถามทั้งหมด 23 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่6 แบบสอบถามเรื่องการดูแลประชากรกลุ่มต่างๆ จำนวนคำถามทั้งหมด 8 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่7 แบบประเมินความรู้เรื่องการแพร่เชื้อเอชไอวี จำนวนคำถามทั้งหมด 9 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่8 แบบประเมินความรู้ความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐาน จำนวนคำถามทั้งหมด 16 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่9 แบบสอบถามเรื่องมาตรการป้องกัน จำนวนคำถามทั้งหมด 7 ข้อ
แบบสอบถาม ชุดที่10 แบบสอบถามเรื่องความมั่นใจในการปฏิบัติ จำนวนคำถามทั้งหมด 7 ข้อ